วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ความหมาย
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
จิตวิทยากับการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
                2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
                     ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
                3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
                4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ   
                     แก้ปัญหาการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก   มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง   นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
-  ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
-  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
-  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน               
จิตวิทยาครู
ครู  หมายถึง  ผู้สอน  มาจากภาษาบาลีว่า ครุ
ภาษาสันสกฤตว่า คุรุ แปลว่า หนัก  สูงใหญ่
  -  ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
  -  ครูต้องมีความหนักแน่น  สุขุม  ไม่วู่วาม  ทั้งความคิดและการกระทำ

ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู

วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
.  ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
.  ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
.  ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
.  ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
.  ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
.  ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
.  ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
.  ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีกานที่มีประสิทธิภาพ
.  ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
๑๐.  ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน

 

การจูงใจ

การจูงใจ (Motivation)   คืออะไร มีผู้ให้คำจำกัดความของการจูงใจไว้ดังนี้
.  การจูงใจ  คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ และถูกต้องตามแนวทางที่ต้องการ

ประเภทของการจูงใจ        

นักจิตวิทยาแบ่งการจูงใจเป็น ๒ ประเภทดังนี้

๑.       การจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation)  
๒.      การจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation)

ผลที่ได้จากการจูงใจ

๑.      ทำให้เกิดพลังงาน หรือเกิดมีพฤติกรรมต่างๆ ขึ้น
๒.        ทำให้เกิดการเลือก  จัดเป็นการกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล
๓.      เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน
๔.      เป็นการนำเด็กไปสู่จุดหมายปลายทาง
แรงจูงใจกับการเรียนการสอน  ในการเรียนการสอนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ ส่งเสริมให้เด็กเกิดมีแรงจูงใจขึ้น   ถ้าสามารถทำได้ควรส่งเสริมให้เด็กเกิดแรงจูงใจภายใน แต่แรงจูงใจภายในนั้นปลูกฝังได้ยาก ครูทั่วไปจึงมักใช้แรงจูงใจภายนอกเข้าช่วย แรงจูงใจภายนอกที่ครูใช้อยู่เป็นประจำ ดังนี้
.  รางวัล  การให้รางวัล ครูไม่ควรให้บ่อยเกินไป หรือเป็นของที่มีราคาแพงเกินไป และควรให้เด็กได้รับรางวัลทั่วถึงกันไม่ใช่จะให้อยู่เพียง ๒ - ๓ คนแรกเท่านั้น
.  ความสำเร็จในการเรียน  การที่เด็กได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน  ก็เป็นแรงจูงใจให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าเดิม 
.  การยกย่องชมเชย  คำชมที่เหมาะกับโอกาสและเหมาะสมกับการกระทำของนักเรียนย่อมเป็นแรง จูงใจให้แก่เด็กเป็นอย่างดี แต่ถ้าครูชมอย่างไม่จริงใจ และเด็กรู้กันทั่วไปว่า คำชมเชยของครูไม่มีความหมายพิเศษเด็กจะไม่เอาใจใส่ต่อคำชมเชยนั้น ครูไม่ควรใช้คำชมพร่ำเพรื่อ
.  การตำหนิ  ถ้าครูใช้การตำหนิแต่เพียงเล็กน้อยไม่พร่ำเพรื่อเกินไปแล้ว  การตำหนิก็มีผลในการ สร้างแรงจูงในในการเรียนได้มากเหมือนกัน ในการตำหนินั้นครูต้องทำให้เหมาะสมกับความบกพร่อง และตำหนิให้เหมาะกับโอกาส ครูไม่ควรตำหนิเด็กโดยไม่มีหลักฐาน และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไขอย่างไร
.  การแข่งขัน  การแข่งขันในการเรียน ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี อย่างหนึ่ง ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลาย ๆ ทาง การแข่งขัน
.  ความช่วยเหลือ  ความร่วมมือก็นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง ตามปกติเด็กย่อมมีความต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว ความร่วมมือเป็นการสนับสนุนให้เด็กสนองความต้องการทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี
.  การรู้จักความก้าวหน้าของตน  ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ แต่การที่เด็กจะทราบถึงความก้าวหน้าของคนนั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู  ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ เด็กจะมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
      .  การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้เด็กเข้าใจแนวการเรียนได้ดีขึ้น และจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น วัตถุประสงค์ที่เด็กควรทราบมีทั้งจุดประสงค์ในระยะใกล้ และจุดประสงค์ในระยะไกล จุดประสงค์ในระยะใกล้ได้แก่ประโยชน์ปัจจุบันของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะไกลได้แก่การเรียนในอนาคตของเด็กเอง